ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) คืออะไร ? รู้จักกับภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพ
หลาย ๆ คนได้ยินคำว่าไขมัน อาจจะนึกถึงสัดส่วนที่เกินมาตรฐาน หรือความอ้วน ซึ่ง ไขมัน ที่ร่างกายของเรามีนั้น ไม่ได้มีเพียงไขมันที่มองเห็นเท่านั้น แต่ยังมี ไขมันที่มองไม่เห็น อย่าง ไขมันในช่องท้อง ไขมันตัวร้าย ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพของใครหลาย ๆ คน มาทำความรู้จักกับ ไขมันในช่องท้อง พร้อมวิธีการดูแลตัวเองให้สุขภาพดี
ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) คืออะไร ?
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นไขมันที่มองไม่เห็น และแทรกอยู่ภายในร่างกาย โดยจะแทรกอยู่ตามบริเวณอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก ซึ่งไขมันประเภทนี้เป็นไขมันที่มีความอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากสามารถแทรกซึมเข้าสู่หลอดเลือดแดงของเราได้ นอกจากนี้ไขมันในช่องท้องยังเป็นไขมันที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายโรค
ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) อันตรายแค่ไหน?
หากมีคำถามว่าไขมันในช่องท้องอันตรายไหม? ต่างจากไขมันใต้ชั้นผิวอย่างไร โดยไขมันใต้ชั้นผิวนั้น หากร่างกายมีมากเกินไป จะทำให้เกิดไขมันส่วนตามสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจจะทำให้รูปร่างของเราดูอ้วนขึ้น แต่หากมีไขมันในช่องท้องเยอะ อาจจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ เนื่องจากไขมันจะไปสะสมบริเวณอวัยวะภายใน และเป็นความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
สัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีไขมันในช่องท้องเกิน
ไขมันในช่องท้อง เป็นไขมันที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือสามารถสัมผัสได้เหมือนกับไขมันบริเวณผิวชั้นนอก เนื่องจากไขมันในช่องท้องนั้นจะเข้าไปแทรกและสะสมอยู่ตามอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง แต่ก็มีวิธีสังเกตหรือมีสัญญาณเตือนที่จะบอกได้ว่าคุณอาจมีไขมันในช่องท้อง ดังนี้
- เส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
ในผู้ที่มีไขมันในช่องท้องเยอะนั้น จะสังเกตได้ว่ามีไขมันสะสมรอบ ๆ ท้อง หรือเอวมากขึ้น โดยลักษณะหน้าท้องจะมีความตึงและแน่น ซึ่งคุณสามารถใช้สายวัดรอบเอวที่ระดับสะดือ โดยไม่ต้องกลั้นหายใจ โดยเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป คือ
ผู้ชาย: เส้นรอบเอวเกิน 90 ซม. (35 นิ้ว)
ผู้หญิง: เส้นรอบเอวเกิน 80 ซม. (32 นิ้ว)
หากมีเส้นรอบเอวเกินกว่าตัวเลข คุณอาจจะมีความเสี่ยงที่อาจมีไขมันในช่องท้องสะสมเยอะเกิน
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณกลางลำตัว อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
หลาย ๆ คนที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว หรือมีไขมันสะสมบริเวณท้องส่วนกลางมากกว่าบริเวณอื่น เช่น คนที่มีรูปร่างแบบแอปเปิล (Apple Shape) แม้จะมีน้ำหนักตัวที่ปกติ แต่มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นสัญญาณว่าคุณมีไขมันในช่องท้องสะสมมากขึ้น
- ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และอัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก (WHR) สูง อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่เป็นมาตรฐาน โดยจะคำนวณจากน้ำหนักตัว และส่วนสูง ซึ่งค่า BMI นั้นจะมีค่ามาตรฐานของน้ำหนักที่สมส่วน โดยคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง หากค่า BMI เกิน 25 ถือว่าอาจมีน้ำหนักเกิน
และการดูอัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก (WHR) ย่อมาจาก Waist-to-Hip Ratio จะคำนวณจากความยาวเส้นรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร) และความยาวเส้นรอบสะโพก (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นจุดทศนิยม หากผู้ชายมีค่า WHR มากกว่า 0.9 และผู้หญิงมีค่า WHR มากกว่า 0.85 อาจจะแสดงให้เห็นว่าเริ่มมีความอ้วน และอาจมีไขมันในช่องท้อง
- พลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
การมีไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป อาจจะส่งผลให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง หรือไม่มีเรี่ยวแรงได้ เนื่องจากไขมันในช่องท้องนั้นไปรบกวนการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย และยังรบกวนระบบการสร้างพลังงานในร่างกายอีกด้วย
- ความดันโลหิตสูง อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
ความดันโลหิตสูง เกิดได้จากหลายปัจจัยรวมถึง เกิดจากไขมันในช่องท้องที่มีมากเกินไป ซึ่งนอกจากความดันโลหิตสูงแล้ว ไขมันในช่องท้องยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดอีกด้วย เนื่องจากไขมันในช่องท้องนั้นสามารถส่งผลต่อระบบฮอร์โมน และกระบวนการอักเสบในร่างกาย
- ค่าคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดผิดปกติ อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
สัญญาณที่เตือนว่าคุณอาจจะมีไขมันในช่องท้องสะสมอีกหนึ่งสัญญาณ คือ ระดับไขมันในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น (คอเลสเตอรอล LDL สูง, HDL ต่ำ, ไตรกลีเซอไรด์สูง) เนื่องจากไขมันในช่องท้องมีบทบาทสำคัญในการผลิตสารที่ส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญ เช่น สารอักเสบที่อาจกระตุ้นให้ระดับไขมันในเลือด และระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น
- มีอาการกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีไขมันสะสมในช่องท้อง เพราะไขมันในช่องท้องมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากไขมันในช่องท้องสามารถกดทับบริเวณช่องอกและระบบทางเดินหายใจ อาจจะทำให้ทางเดินหายใจตีบหรืออุดตันในขณะหลับ ส่งผลให้เกิดการกรนหรือหยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก
- ระบบย่อยอาหารผิดปกติ อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
หากมีไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป ไขมันอาจจะเข้าไปรบกวนการทำงานของลำไส้และกระเพาะอาหารได้ โดยอาจจะส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารมีความผิดปกติ เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายได้
- ความเครียดสูงและมีอารมณ์แปรปรวน อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
ความเครียดสะสม ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นการเกิดไขมันในช่องท้องมากเกินไป เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดสูงร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่เพิ่มการสะสมไขมันในช่องท้อง จึงส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย เรียกได้ว่าไขมันในช่องท้องส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง อาจเกิดจากไขมันในช่องท้องเยอะเกินไป
หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ หรือโรคอ้วน อาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับพันธุกรรม ซึ่งอาจจะเกิดไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป
ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) เกิดจากอะไร ?
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นไขมันที่สะสมอยู่ในช่องท้องลึก รอบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ไขมันในช่องท้องมีบทบาทสำคัญในระบบร่างกายเมื่ออยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เมื่อสะสมมากเกินไป อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งสาเหตุการเกิดไขมันในช่องท้องสะสมมากเกินไปนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล หรือไม่ครบ 5 หมู่นั้น อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ยิ่งเพิ่มปัจจัยในการสะสมไขมันในช่องท้อง เช่น
- การรับประทานอาหารแปรรูป เช่น ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก เบเกอรี่
- การรับประทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก
- การรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ของทอด
การเลือกรับประทานอาหารประเภทนี้มากเกินไป จะทำให้ร่างกายนั้นได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้เผาผลาญได้ไม่หมด และกลายเป็นการสะสมไขมันในช่องท้อง
- การขาดการออกกำลังกาย
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการขาดการออกกำลังกาย เมื่อเราเคลื่อนไหวน้อยลง ก็จะทำให้การเผาผลาญพลังงานน้อยลงเช่นกัน ยิ่งใครที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้น อาจจะทำให้พลังงานที่อยู่ภายในร่างกายถูกเผาผลาญได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดไขมันในช่องท้องสะสมจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรหากิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวระหว่างวันบ้าง เช่น การเดิน การวิ่ง
- ความเครียดและฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากความเครียด ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสะสมไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติ ซึ่งเมื่อเราเกิดความเครียดนั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดในปริมาณสูง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากในภาวะเครียดร่างกายจะต้องการพลังงานมากกว่าปกติ โดยจะส่งผลให้หิวบ่อยขึ้น กินเยอะขึ้น และอาจจะทำให้เกิดไขมันในช่องท้องได้
- การนอนหลับไม่เพียงพอ
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีปัญหานอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) และเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความหิวในร่างกาย ที่ทำให้กระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทของหวาน และของหวานที่มีไขมันสูง ซึ่งการรับประทานอาหารเหล่านี้มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้องที่มากขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเกิดไขมันในช่องท้อง เนื่องจากแอลกอฮอล์นั้นมีแคลอรีที่สูง ทั้งยังทำให้ระบบเผาผลาญไขมันในร่างกายทำงานได้ช้าลง จึงเกิดเป็นไขมันส่วนเกินบริเวณรอบ ๆ เอว หรืออ้วนลงพุง
- พันธุกรรมและฮอร์โมนในร่างกาย
ไขมันในช่องท้อง เกิดจากพันธุกรรมและฮอร์โมนในร่างกาย ในโรคบางโรคสามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรม โดยในบางคนนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะสะสมไขมันในช่องท้อง นอกจากพันธุกรรมแล้ว ฮอร์โมนในร่างกาย ก็เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้คุณมีไขมันในช่องท้อง เช่น การทำงานของอินซูลินที่ผิดปกติ หรือระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน ก็อาจทำให้เกิดไขมันในช่องท้องมากเกินไป
โรคที่เกิดจากไขมันในช่องท้อง (Visceral fat)
การมีไขมันในช่องท้องสะสมในปริมาณมาก ๆ อาจจะนำไปสู่โรคที่อันตรายต่อสุขภาพได้ ไขมันเหล่านี้จะไปแทรกและสะสมอยู่ตามอวัยวะภายในร่างกายบริเวณช่องท้อง ซึ่งโรคที่อาจเกิดขึ้นจากไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป มีดังนี้
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากไขมันเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคไขมันในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายจะกระตุ้นการสร้างไขมันเหลว หรือคอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคหัวใจ เนื่องจากไขมันเข้าไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนัก และไขมันเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากไขมันเข้าไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด ภาวะไขมันพอกตับ เนื่องจากไขมันจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกาย
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เนื่องจากไขมันเข้าไปขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ หรือร่างกายอาจหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ ซึ่งอันตรายมาก
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เนื่องจากไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เนื่องจากไขมันจะเข้าไปอุดตันเส้นเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ และนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง
- ไขมันในช่องท้องทำให้เกิด ภาวะภูมิแพ้ เนื่องจากไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
สำหรับใครที่มีความกังวลว่าจะมีภาวะไขมันในช่องท้องสะสมมากเกินไปนั้น สามารถวัดไขมันในเลือด (วัด Total cholesterol, Triglycerides, HDL-c, LDL-c) เพื่อเช็กระดับไขมัน คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้ จากนั้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาไขมันในช่องท้องต่อไป ซึ่งในแต่ละบุคคลนั้นก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป
ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ต่างจากไขมันทั่วไป (Fat) อย่างไร?
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ไขมันในช่องท้อง” หรือ Visceral Fat แต่ยังไม่เข้าใจว่าแตกต่างจากไขมันทั่วไปที่สะสมอยู่ตามร่างกายอย่างไร และเหตุใดการมีไขมันในช่องท้องชนิดนี้มากเกินไปจึงส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ในบทความนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับไขมันทั้งสองประเภท พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่าง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ไขมันในช่องท้อง คืออะไร ?
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นไขมันที่สะสมอยู่ภายในร่างกายบริเวณช่องท้อง โดยไขมันจะกระจายตัวรอบ ๆ อวัยวะสำคัญในช่องท้อง เช่น ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ไขมันในช่องท้องชนิดนี้ไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้จากภายนอก จำเป็นต้องตรวจเท่านั้น หากมีการสะสมไขมันในช่องท้องมากเกินไป อาจจะเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคไขมันพอกตับ
ไขมันทั่วไป คืออะไร ?
นอกจาก ไขมันในช่องท้อง ร่างกายของเรายังมีไขมันอีกประเภท คือ ไขมันทั่วไป (Subcutaneous Fat) หรือไขมันที่อยู่บริเวณชั้นผิวหนัง จึงสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น จากการที่รับประทานอาหารมากเกินไป และร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันออกไป ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินตามร่างกายได้ เช่น บริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก ซึ่งไขมันประเภทนี้หากสะสมมากเกินไปอาจจะทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง และรูปลักษณ์เปลี่ยนไปได้
ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร ?
ไขมันในช่องท้อง จัดว่าเป็นไขมันชนิดที่มีความอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากสามารถผลิตสารอักเสบและฮอร์โมนที่รบกวนระบบเผาผลาญของร่างกาย ไขมันในช่องท้อง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลาย ๆ โรค ไม่ว่าจะเป็น
- ไขมันในช่องท้องเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากไขมันในช่องท้องจะเข้าไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ให้สูงขึ้น จนอาจจะเกิดอันตรายได้
- ไขมันในช่องท้องเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากเข้าไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลีน
- ไขมันในช่องท้องเพิ่มการกระตุ้นการสะสมไขมันพอกตับ เนื่องจากไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป จะเข้าไปสะสมแทรกตัวบริเวณตับ ทำให้เกิดไขมันพอกตับ และอาจจะพัฒนาเป็นโรคร้ายได้
พฤติกรรมที่ทำให้คุณมีไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) โดยไม่รู้ตัว
- การรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูงและน้ำตาลมาก เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูป หรือขนมหวาน
- ขาดการออกกำลัง นั่ง หรือนอน ในเวลานาน
- การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
- ความเครียดสะสม หรือเครียดเรื้อรัง
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้บรรจุกล่อง และเครื่องดื่มชูกำลัง
- การรับประทานอาหารดึกบ่อย ๆ
- การดื่มน้ำไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อยเกินไป
มัดรวม 5 วิธีลดไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ด้วยตัวเอง
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อลดไขมันในช่องท้อง
ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น ไขมันดี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผักที่มีกากใยสูง ที่จะช่วยทำให้ร่างกายสุขภาพดี และยังช่วยลดการเกิดไขมันในช่องท้อง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ทั้งแบบคาร์ดิโอ และแบบเวทเทรนนิ่ง จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งกล้ามเนื้อนั้นจะช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานจากน้ำตาลและไขมันในร่างกายได้ ซึ่งจะทำให้ไขมันในร่างกายลดลง ทั้งยังช่วยลดไขมันในช่องท้องได้ ซึ่งควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
อยากลดไขมันช่องท้องต้อง พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เหมาะสมจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมนความหิวอย่างเกรลิน (Ghrelin) และเลปติน (Leptin) ทำให้ร่างกายลดความอยากอาหารมากเกินความจำเป็น และช่วยลดการสะสมไขมันในช่องท้อง ซึ่งเวลานอนที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ที่จะช่วยลดไขมันในช่องท้อง และช่วยปรับสมดุลสุขภาพโดยรวม เช่น ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน และปัญหาน้ำหนักเกิน
- ควบคุมความเครียด
ความเครียดไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะการสะสมไขมันในช่องท้อง เนื่องจากหากเกิดความเครียดเรื้อรังร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนความเครียด ที่ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันในช่องท้องมากขึ้น ดังนั้นการควบคุมความเครียด หรือลดความเครียดจะช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำนั้น เป็นตัวการที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน และเกิดการสะสมไขมันในช่องท้องที่มากเกินไป เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการเผาผลาญพลังงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโรคอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ลดไขมัน กับ ลดน้ำหนัก ต่างกันอย่างไร ?
การลดน้ำหนัก ไม่เท่ากับ การลดไขมัน หรือน้ำหนักที่น้อยไม่ได้แปลว่าหุ่นดี หรือมีสุขภาพที่ดี เพราะร่างกายของเรานั้นประกอบด้วยหลาย ๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ไขมัน หรืออวัยวะภายใน หากต้องการลดไขมันในช่องท้อง ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก และการลดไขมัน
ลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนัก หมายถึง การทำให้ตัวเลขบนตาชั่งลดลง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายในระยะสั้น โดยวิธีนี้จะทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำ และสูญเสียกล้ามเนื้อ เช่น การอดอาหาร หรือการลดปริมาณอาหารแบบหักดิบทันที ซึ่งวิธีนี้อาจจะเห็นผลลัพธ์ได้ไวทันที แต่อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ และไม่ช่วยลดไขมันในช่องท้องในระยะยาว ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโยโย่เอฟเฟกต์ และอาจจะทำให้สัดส่วนของร่างกายดูไม่กระชับ ไม่ดูสุขภาพดี
ลดไขมัน
การลดไขมัน จะมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณไขมันในร่างกายอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการมีสุขภาพดีและรูปร่างที่กระชับ โดยไขมันที่ควรลด คือ ไขมันใต้ผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณต้นแขน ต้นขา สะโพก และหน้าท้อง หรือไขมันในช่องท้องที่เกาะอยู่รอบอวัยวะสำคัญ เช่น ลำไส้ ตับ ไต การลดไขมันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ช่วยรักษากล้ามเนื้อไว้ และทำให้ระบบเผาผลาญยังทำงานได้ดี จึงทำให้สุขภาพดีในระยะยาว และยังทำให้รูปร่างกระชับและสัดส่วนเล็กลง
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผักใบเขียว
อาหารที่มีส่วนช่วยลดการสะสมไขมันในช่องท้อง คือ ผักใบเขียว ที่เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่สำคัญ นอกจากจะช่วยเพิ่มความอิ่ม ลดความอยากอาหาร และทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นแล้วนั้น ผักใบเขียวยังช่วยลดการสะสมไขมันในช่องท้องได้เป็นอย่างดี เช่น ผักโขม คะน้า บรอกโคลี หรือผักกาดหอม
- ธัญพืชเต็มเมล็ด
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง คือ ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole Grains) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต และขนมปังโฮลวีต เป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในช่องท้อง ป้องกันการสะสมของไขมัน และยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ สามารถใช้แทนข้าวขาวได้
- ผลไม้ที่มีไฟเบอร์และน้ำตาลต่ำ
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง คือ ผลไม้ที่มีไฟเบอร์และน้ำตาลต่ำ การเลือกทานผลไม้ที่มีไฟเบอร์และน้ำตาลต่ำ เช่น แอปเปิล เบอร์รี กีวี และเกรปฟรุต จะช่วยลดการสะสมไขมันในช่องท้อง และเนื่องจากผลไม้มีไฟเบอร์สูง มีน้ำตาลที่ต่ำ และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ
- โปรตีนไขมันต่ำ
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง คือ โปรตีนไขมันต่ำ การเลือกทานโปรตีน จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ลดการสะสมของไขมันในช่องท้อง และยังช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ ทั้งนี้โปรตีนที่ดีต่อสุขภาพนั้น ควรเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง เนื้อปลา ไข่ขาว และถั่วชนิดต่างๆ และควรหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีแคลอรี่สูง และมีไขมัน
- ไขมันดี
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง คือ ไขมันดี (Healthy Fats) การเลือกทานไขมันดี จะช่วยลดการอักเสบและช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในช่องท้องได้เป็นอย่างดี เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน อะโวคาโด และถั่วอัลมอนด์
- น้ำเปล่า
อาหารที่ช่วยลดไขมันในช่องท้อง คือ น้ำเปล่า การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6- 8 แก้วต่อวัน จะช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญให้ทำงานดีขึ้น และยังช่วยลดการสะสมไขมันในช่องท้อง ทั้งยังช่วยขจัดสารพิษ และลดอาการบวมโซเดียมได้เป็นอย่างดี การดื่มน้ำเปล่านั้นจะช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดไขมันในช่องท้อง (Visceral fat)
- อาหารแปรรูป เช่น ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก หรืออาหารสำเร็จรูป
- เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก
- ไขมันทรานส์ เช่น ขนมอบ หรืออาหารทอด
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ไขมันในช่องท้อง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ คนต่างพบเจอ โดยเฉพาะเหล่าวัยทำงานที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือนั่งนานเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณที่เยอะ รวมถึงความเครียดสะสม ซึ่งการมีไขมันในช่องท้องที่เยอะนั้น จะส่งผลให้เกิดโรคหลาย ๆ โรคตามมาได้ ดังนั้นการดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวแบบปลอดภัย และมีความสุข หากต้องการตัวช่วยในการลดไขมันในช่องท้องเพื่อสุขภาพสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ >>https://bit.ly/Romrawinclinic