ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? อันตรายจริงไหม? ทำไมไม่ควรฉีด? อัปเดต 2025

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? อันตรายจริงไหม? ทำไมไม่ควรฉีด? อัปเดต 2025

 

ปัจจุบัน ฟิลเลอร์ปลอมยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในวงการแพทย์ความงาม โดยจะเห็นได้จากข่าวที่มีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหลายคนที่ยังหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าฟิลเลอร์แท้ แต่รู้หรือไม่ว่า การฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อใบหน้าสารพัด ทั้งใบหน้าผิดรูป ติดเชื้อ เนื้อตาย หรือตาบอดได้เลยทีเดียว ซึ่งยากต่อการรักษา ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังสนใจฉีดฟิลเลอร์อยู่ บทความนี้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอมมาให้แล้วว่า ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตได้อย่างไร? และมีวิธีไหนที่สามารถเช็กฟิลเลอร์แท้ได้บ้าง? เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากฟิลเลอร์ปลอม

 

ฟิลเลอร์ปลอมอันตราย รู้ทันก่อนฉีด รวมวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้

 

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร?

 

ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร

 

ฟิลเลอร์ปลอม เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้ผลิตจากสารที่มีคุณภาพ และไม่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งส่วนใหญ่ฟิลเลอร์ปลอมจะใช้สารเติมเต็มประเภท ซิลิโคนเหลว (Liquid Silicone) และพาราฟิน (Paraffin) ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านง่าย ซึ่งแตกต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่สามารถสลายเองได้ตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย

โดยเมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปแล้ว สารในฟิลเลอร์ปลอม จะตกค้างอยู่ในชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ทั้งอาการบวมแดง อักเสบ หรือแม้กระทั่งผิวหนังติดเชื้อ อีกทั้ง ฟิลเลอร์ปลอม ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ เช่น ฟิลเลอร์เป็นก้อน เกิดพังผืดในชั้นผิว ทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือตาบอด ซึ่งจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะเเทรกซ้อน และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

 

ทำความรู้จัก ฟิลเลอร์แท้ คืออะไร?

ฟิลเลอร์แท้ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท ไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid – HA) ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยฟิลเลอร์แท้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบ สารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ มีหน้าที่หลักในการกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว และฉีดเสริมชั้นผิวในบริเวณที่สูญเสียคอลลาเจน ไขมัน และกระดูกที่ทรุดตัวลง ทำให้ผิวหน้ากลับมาอิ่มฟู เรียบเนียน และดูอ่อนเยาว์อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย ซึ่งฟิลเลอร์แท้สามารถสลายตัวได้เองตามกระบวนการธรรมชาติ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด

 

ฟิลเลอร์ มีกี่ประเภท? 

ฟิลเลอร์ชั่วคราว (Temporary Filler)

  • ฟิลเลอร์ชั่วคราว หรือ Temporary Filler เป็นฟิลเลอร์ที่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ โดยทั่วไป จะมีส่วนประกอบของ สารไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid – HA) ซึ่งได้รับความนิยม และมีการใช้งานในวงการแพทย์ความงามมาอย่างยาวนานทั่วโลก เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง สามารถฉีดฟิลเลอร์ใหม่ได้เรื่อย ๆ เมื่อฟิลเลอร์เริ่มสลายตัว และหากไม่พอใจในผลลัพธ์ สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ โดยผลลัพธ์จะคงอยู่ ประมาณ 6 – 18 เดือน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่ใช้ บริเวณที่ฉีด และการดูแลตัวเองหลังฉีด

ฟิลเลอร์กึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler)

  • ฟิลเลอร์กึ่งถาวร หรือ Semi-Permanent Filler เป็นฟิลเลอร์ที่สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ แต่ไม่สลายทั้งหมด 100% จึงมีความทนทานมากกว่าการฉีดฟิลเลอร์ชั่วคราว โดยทั่วไป จะมีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น Calcium Hydroxylapatite หรือ Poly-L-Lactic Acid ซึ่งเน้นในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว โดยผลลัพธ์จะคงอยู่ประมาณ 18 – 24 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง และปลอดภัยน้อยกว่า เมื่อเทียบกับฟิลเลอร์ชั่วคราว 

ฟิลเลอร์ถาวร (Permanent Filler)

  • ฟิลเลอร์ถาวร หรือ Permanent Filler เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ อาจทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกายตลอดชีวิต โดยทั่วไป จะผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ ซิลิโคนเหลว และพาราฟิน ซึ่งไม่แนะนำให้ฉีดฟิลเลอร์ถาวร หรือฟิลเลอร์ปลอมอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายกว่าฟิลเลอร์ชั่วคราว และฟิลเลอร์กึ่งถาวร อาจทำให้บริเวณที่ฉีดอักเสบ ใบหน้าผิดรูป ตาบอด หรือติดเชื้อในระยะยาวได้

 

5 เหตุผลที่ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม ใช้สารที่ไม่ปลอดภัย

  • สารที่ใช้ในฟิลเลอร์ปลอม เป็นสารเติมเต็มที่ไม่ได้มาตรฐาน และผลิตจากสารที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ ซิลิโคนเหลว และพาราฟิน เนื่องจากเป็นสารที่มีราคาถูก และพบได้บ่อยในฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งไม่สามารถสลายได้ตามกระบวนการธรรมชาติ เมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้ว จะเกิดการจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเนื้อตายได้

ฟิลเลอร์ปลอม นำเข้าผิดกฎหมาย

  • ฟิลเลอร์ปลอม มักมีการนำเข้าแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยา (อย.) ทำให้ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัย และประสิทธิภาพหลังฉีดได้ ซึ่งการนำเข้าฟิลเลอร์ปลอมแบบผิดกฎหมายนั้น ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับสารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ฟิลเลอร์ปลอม ใช้กระบวนการผลิตไม่มีคุณภาพ

  • ฟิลเลอร์ปลอม มักมีกระบวนการผลิตที่ไม่สะอาด ไม่ได้รับการควบคุมคุณภาพ หรือไม่มีการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ทำให้ไม่มีความปลอดภัย และฟิลเลอร์ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรง อักเสบรุนแรง หรือหากสารปนเปื้อนเข้าสู่กระแสเลือด อาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ฟิลเลอร์ปลอม เสี่ยงเกิดอันตราย

  • การฉีดฟิลเลอร์ปลอม มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อใบหน้าสูง เนื่องจากสารที่ใช้ในฟิลเลอร์ปลอม เป็นสารประเภทซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ซึ่งไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการตกค้างในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย ทั้งเกิดการติดเชื้อ อักเสบ อุดตันในเส้นเลือด หรือแม้กระทั่งเสี่ยงตาบอด เนื้อตาย และใบหน้าผิดรูปได้

ฟิลเลอร์ปลอม ทำการรักษายาก

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้ว ฟิลเลอร์อาจตกค้างอยู่ให้ชั้นผิว เนื่องจากสารที่ใช้ในฟิลเลอร์ปลอม เป็นสารประเภทซิลิโคนเหลว หรือพาราฟินที่ไม่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ หากเกิดปัญหากับใบหน้าขึ้นมา อาจมีความยากต่อการรักษา ต้องทำการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดก็ไม่สามารถนำฟิลเลอร์ออกได้ทั้งหมด และมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอีกด้วย

 

ฉีดฟิลเลอร์ปลอม อันตรายอย่างไร?

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมระยะสั้น

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ติดเชื้อ

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม สามารถเกิดอาการบวมแดง ร้อน หรือปวดในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากสารที่ใช้ในฟิลเลอร์ปลอม ไม่ได้ผ่านการควบคุมคุณภาพ และความสะอาด ทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจลุกลามจนเกิด ฝีหนอง หรือนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ แพ้ฟิลเลอร์

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งร่างกายอาจตอบสนองต่อสารแปลกปลอม โดยเกิดปฏิกิริยาแพ้ต่อต้านสารที่ไม่รู้จัก ทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง เช่น ผื่น คัน บวม หรือหายใจลำบาก

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ บวมแดงผิดปกติ

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจเกิดอาการบวมแดงอย่างรุนแรงในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมไม่มีความปลอดภัย อาจเข้าไปกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมแดงผิดปกติอย่างรวดเร็ว หรือรู้สึกปวด กดแล้วเจ็บในบริเวณที่ฉีดได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ผิวเปลี่ยนสี

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม ผิวในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมอาจเกิดการเปลี่ยนสีได้ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการฟิลเลอร์ปลอม อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือด เกิดการอักเสบ หรือเกิดการติดเชื้อ จนทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง สีม่วง สีคล้ำ หรือสีดำได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ อุดตันเส้นเลือด

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปที่เส้นเลือดโดยตรง อาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมขาดเลือด และเกิดเนื้อตาย ในกรณีที่รุนแรง หากอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตา อาจทำให้ตาบอดได้

 

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมระยะยาว

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ เกิดพังผืด

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม ร่างกายอาจสร้างพังผืดล้อมรอบสารในฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งจะส่วนใหญ่ มักจะเกิดขึ้นหลังฉีด 3 – 5 ปี ทำให้บริเวณที่ฉีดเกิดพังผืดเกาะเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ใบหน้าบิดเบี้ยว และใบหน้าผิดรูปได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ฟิลเลอร์เป็นก้อน

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม เมื่อเวลาผ่านไป 3 – 5 ปี สารนี้ จะเริ่มไหลย้อยมากองรวมกัน เป็นก้อนแข็งใต้ชั้นผิว ทำให้เวลาลูบ หรือคลำในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม จะรู้สึกเจ็บ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อมีการแสดงออกทางสีหน้า

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ฟิลเลอร์ไหลย้อย

  • หลังฉีดฟิลเลอร์ปลอม สารในฟิลเลอร์ปลอมอาจไหลย้อย ไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ตา จมูก หรือแม้กระทั่งปอด ทำให้เกิดการอักเสบ หรืออุดตันในอวัยวะต่าง ๆ ได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ เนื้อตาย 

  • หลังฟิลเลอร์ปลอม ถูกฉีดเข้าไปยังเส้นเลือด หรือกดทับหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในบริเวณที่ฉีดได้ ส่งผลให้ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมขาดออกซิเจน จนเกิดเนื้อเยื่อตาย อาจเป็นแผลเป็นถาวร หรือส่งผลเสียต่อผิวหน้าขั้นรุนแรงได้

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ตาบอด 

  • หลังฟิลเลอร์ปลอม ถูกฉีดเข้าสู่เส้นเลือดในบริเวณใบหน้า สารนี้ สามารถเข้าไปอุดตันเส้นเลือดที่เชื่อมกับดวงตา ซึ่งการอุดตันนั้น ทำให้เลือดไม่สามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงจอประสาทตาได้ ส่งผลให้จอประสาทตาขาดเลือด และเกิดการตาบอดอย่างถาวร 

 

วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม
วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม

 

สังเกตฟิลเลอร์ปลอมจากจุดไหนได้บ้าง?

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก ราคาถูกผิดปกติ

  • หากพบว่า ฟิลเลอร์มีราคาถูกจนเกินไป หรือมีราคาที่ต่างจากคลินิกชั้นนำ ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง และให้คิดไว้ก่อนเลยว่า อาจเป็นฟิลเลอร์ปลอม อีกทั้ง การจัดโปรโมชันที่มีราคาถูกจนเกินจริง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นฟิลเลอร์ปลอมเช่นกัน เนื่องจากฟิลเลอร์แท้จะมีราคาต้นทุนที่สูง ซึ่งก็มาพร้อมกับคุณภาพที่สูงตาม แนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ โดยเปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ คลินิก เพื่อความปลอดภัย

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก กล่องฟิลเลอร์ไม่สมบูรณ์

  • หากพบว่า กล่องฟิลเลอร์มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ มีการยุบ บุบ มีรอยฉีกขาด หรือรายละเอียดบนกล่องเลือนลาง ข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น ไม่มีชื่อบริษัท ไม่มีวันที่ผลิต และไม่มีวันหมดอายุ รวมถึง ไม่มีฉลากภาษาไทย ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า เป็นฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากฟิลเลอร์แท้จะมีสภาพกล่องที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดครบถ้วน และชัดเจน แนะนำให้ตรวจสอบกล่องฟิลเลอร์ก่อนตัดสินใจ โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อใบหน้า

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก เลข Lot. ไม่ตรงกัน

  • หากพบว่า ภายใน และภายนอกกล่องฟิลเลอร์ มีเลข Lot. บนกล่อง บนซอง และบนหลอดฟิลเลอร์ไม่ตรงกัน ไม่สามารถโทรตรวจสอบกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายได้ ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า เป็นฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากฟิลเลอร์แท้ทุกยี่ห้อจะมีเลข Lot. ทั้งภายใน และภายนอกกล่องที่ตรงกันทุกจุด โดยสามารถโทรตรวจสอบกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายได้ ซึ่งบางยี่ห้ออาจมี เลข Lot. 3 จุด หรือบางยี่ห้ออาจมีเลข Lot. 4 จุด ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้ แนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ 

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก คลินิกที่ให้บริการไม่น่าเชื่อถือ

  • หากพบว่า คลินิกที่ให้บริการไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการอย่างถูกต้อง รวมถึง แพทย์ดูไม่น่าเชื่อถือ มีท่าทีปกปิดข้อมูล หรือไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ได้อย่างชัดเจน ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ผู้ที่ฉีดอาจไม่ใช่แพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญในการฉีดฟิลเลอร์ และฟิลเลอร์ที่ใช้อาจเป็นฟิลเลอร์ปลอม แนะนำให้ตรวจสอบคลินิกที่ให้บริการอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อใบหน้า

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก แพทย์ไม่แกะกล่องต่อหน้า

  • หากพบว่า ก่อนฉีดฟิลเลอร์ แพทย์ไม่ยินยอมแกะกล่องฟิลเลอร์ให้ดูต่อหน้า อาจเป็นไปได้ว่า ฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นฟิลเลอร์ปลอม  และควรปฏิเสธการฉีด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การไม่แกะกล่องฟิลเลอร์ให้ดูต่อหน้า ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นฟิลเลอร์ปลอมเสมอไป แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใส และความไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้รับบริการ แนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันอันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก ผลลัพธ์ไม่เป็นธรรมชาติ

  • หากพบว่า หลังฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วเกิดอาการปวดรุนแรง บวมแดง อักเสบ สีผิวเปลี่ยน หรือติดเชื้ออย่างเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าบางครั้งผลข้างเคียงบางอย่าง สามารถเกิดขึ้นได้จากการฉีดฟิลเลอร์แท้ แต่ผลข้างเคียงที่ผิดปกติ ก็สามารถบ่งชี้ได้ว่า ฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง แนะนำให้ตรวจสอบฟิลเลอร์ และคลินิกที่ให้บริการให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจฉีด เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อใบหน้าในระยะยาว

 

ฟิลเลอร์ปลอมกับฟิลเลอร์แท้ต่างกันอย่างไร
ฟิลเลอร์ปลอมกับฟิลเลอร์แท้ต่างกันอย่างไร

 

ฟิลเลอร์แท้ VS ฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์แท้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัและผลลัพธ์ที่ได้หลังฉีด แต่การฉีดฟิลเลอร์ปลอมนั้น อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในระยะยาวได้ โดยฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์แท้มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ฟิลเลอร์แท้

  • ฟิลเลอร์แท้ จะผลิตจาก ไฮยาลูรอนิก แอซิด (HA) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในร่างกาย สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ โดยฟิลเลอร์แท้นั้น จะผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ทำให้มีความปลอดภัยสูง ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก องค์การอาหารและยา (อย.) หากเกิดข้อพลาด สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ทันที โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ฟิลเลอร์ปลอม

  • ฟิลเลอร์ปลอม จะผลิตจากสารที่เป็นอันตราย ได้แก่ ซิลิโคนเหลว และพาราฟิน ซึ่งสารเหล่านี้ ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย และก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง โดยฟิลเลอร์ปลอมนั้น จะผ่านกระบวนการผลิตในโรงงานเถื่อนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความสะอาด และไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ อักเสบ หรือเป็นพิษต่อร่างกายได้

 

ฟิลเลอร์หิ้ว VS ฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์หิ้ว ถึงแม้จะเสี่ยงอันตรายเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์หิ้วมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ฟิลเลอร์ปลอม

  • ฟิลเลอร์ปลอม ผลิตจากสารอันตรายที่ไม่ใช่ไฮยาลูรอนิก แอซิด ได้แก่ ซิลิโคนเหลว และพาราฟิน ซึ่งยังไม่มีการรับรองจากหน่วยงานใด ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จึงตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากไม่มีเลขทะเบียน อย. หรืออาจมีการปลอมแปลงเอกสาร โดยฟิลเลอร์ปลอม ผ่านการผลิตในโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนสารอันตราย เช่น เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ 

ฟิลเลอร์หิ้ว

  • ฟิลเลอร์หิ้ว อาจเป็นฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์แท้ ที่มีการลักลอบนำเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย  โดยไม่ผ่านกระบวนการทางศุลกากร และไม่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขาดการควบคุมคุณภาพในการขนส่ง และการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ฟิลเลอร์มีคุณภาพเสื่อมลง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการแพ้ หรือผลข้างเคียงอันตรายได้

 

วิธีแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม มีอะไรบ้าง?

การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากฟิลเลอร์ปลอมนั้น มีความซับซ้อน และแตกต่างจากการแก้ไขฟิลเลอร์แท้ เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม ผลิตจากซิลิโคนเหลว และพาราฟิน ทำให้ไม่สามารถใช้ Hyaluronidase ฉีดสลายได้เหมือนฟิลเลอร์แท้ ดังนั้น การแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม จึงใช้วิธีการที่ยุ่งยากกว่า และใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน รวมถึง มีค่าใช้จ่ายที่สูง โดยวิธีแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม มีดังนี้

แก้ไขฟิลเลอร์ปลอม ด้วยการขูดฟิลเลอร์

  • ในกรณีที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากฟิลเลอร์ปลอมนั้น สามารถทำการขูดฟิลเลอร์ปลอมออกได้ ซึ่งเหมาะสำหรับฟิลเลอร์ปลอมที่เป็นก้อน หรือแข็งตัว โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ขูดฟิลเลอร์ปลอมออกมา ประมาณ 60 – 70% เท่านั้น ไม่สามารถขูดออกได้ทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เกิดรอยช้ำ หรือบวมหลังทำได้

แก้ไขฟิลเลอร์ปลอม ด้วยการผ่าตัด

  • ในกรณีที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากฟิลเลอร์ปลอมนั้น สามารถทำการผ่าตัดฟิลเลอร์ปลอมออกได้ หากฟิลเลอร์เป็นก้อนขนาดใหญ่ หรือแข็งมาก มีพังผืดเกาะแน่น หรือมีการติดเชื้อที่รุนแรง จนไม่สามารถขูดออกได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยแพทย์จะทำการเปิดผิวหนังในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม เพื่อนำฟิลเลอร์ปลอมออก ซึ่งต้องทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความรู้ และประสบการณ์เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเส้นเลือด และเส้นประสาท เนื่องจากการผ่าตัดฟิลเลอร์ปลอมนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการขูดฟิลเลอร์

 

วิธีเช็กฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ มีอะไรบ้าง?

การตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ก่อนตัดสินใจฉีดมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อความปลอดภัย ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเจอฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อก็มีวิธีการตรวจสอบที่ต่างกัน โดยสามารถตรวจสอบฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อได้ ดังนี้

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Belotero
เช็กฟิลเลอร์แท้ Belotero

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero

  • ภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero จะต้องมีสภาพที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดพิมพ์ไว้อย่างชัดเจน และไม่มีรอยฉีกขาด 
  • ภายในกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero จะต้องมีเอกสารกำกับภาษาไทย และเลขทะเบียนจาก อย. อย่างถูกต้อง
  • ภายใน และภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero จะต้องมีเลข Lot. ตรงกันทั้งหมด 3 จุด ทั้งตรงกล่องฟิลเลอร์, ตรงสติกเกอร์ และตรงหลอดฟิลเลอร์
  • หากมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจสอบเลข Lot. ของฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero สามารถโทรตรวจสอบกับบริษัท เมิร์ซ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) ได้โดยตรง

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Juvederm
เช็กฟิลเลอร์แท้ Juvederm

 

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm

  • ภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm จะต้องมีสภาพที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดพิมพ์ไว้อย่างชัดเจน และไม่มีรอยฉีกขาด 
  • ภายในกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm จะต้องมีเอกสารกำกับภาษาไทย และเลขทะเบียนจาก อย. อย่างถูกต้อง
  • ภายใน และภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm จะต้องมีเลข Lot. ตรงกันทั้งหมด 4 จุด ทั้งตรงกล่องฟิลเลอร์, ตรงซอง, ตรงสติกเกอร์ และตรงหลอดฟิลเลอร์
  • หากมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจสอบเลข Lot. ของฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm สามารถโทรตรวจสอบกับบริษัท Allergan Thailand ได้โดยตรง

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Restylane
เช็กฟิลเลอร์แท้ Restylane

 

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane

  • ภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane จะต้องมีสภาพที่สมบูรณ์ มีรายละเอียดพิมพ์ไว้อย่างชัดเจน และไม่มีรอยฉีกขาด 
  • ภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane จะต้องมีสติกเกอร์โมโนแกรมคำว่า “VOID” ติดอยู่ เพื่อยืนยันความปลอดภัยว่า เป็นฟิลเลอร์แท้ไม่ใช่ฟิลเลอร์ปลอม
  • ภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane จะต้องมี QR Code ให้สแกนตรวจสอบ โดยสามารถใช้แอปพลิเคชัน eZTracker สแกน เพื่อยืนยันความถูกต้องของฟิลเลอร์ที่ใช้ได้
  • ภายในกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane จะต้องมีเอกสารกำกับภาษาไทย และเลขทะเบียนจาก อย. อย่างถูกต้อง
  • ภายใน และภายนอกกล่องฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane จะต้องมีเลข Lot. ตรงกันทั้งหมด 3 จุด ทั้งตรงกล่องฟิลเลอร์, ตรงสติกเกอร์ และตรงหลอดฟิลเลอร์
  • หากมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจสอบเลข Lot. ของฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane สามารถโทรตรวจสอบกับบริษัท Galderma Thailand ได้โดยตรง

 

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ 

  • เลือกคลินิกที่มีมาตรฐาน และมีใบอนุญาตประกอบกิจการจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง ภายในคลินิกควรมีความสะอาด ปลอดภัย และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย 
  • เลือกฉีดฟิลเลอร์โดยแพทย์ที่มีความรู้ และประสบการณ์ โดยสามารถตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล ของแพทย์ที่จะทำการฉีดฟิลเลอร์ได้ที่ เว็บไซต์แพทยสภา เพื่อตรวจสอบดูว่า แพทย์ที่ฉีดเป็นแพทย์จริงหรือไม่
  • เลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ไทย ซึ่งในปัจจุบันมีฟิลเลอร์หลากหลายยี่ห้อที่ปลอดภัย และได้รับความนิยม เช่น Juvederm, Restylane หรือ Belotero 
  • ตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ก่อนฉีด โดยตรวจสอบเลขทะเบียน อย. เลข Lot. และรายละเอียดบนกล่อง หากมีข้อสงสัย ควรสอบถามแพทย์ หรือสอบถามบริษัทผู้จำหน่ายฟิลเลอร์ยี่ห้อนั้นโดยตรง
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดฟิลเลอร์แท้ เพื่อให้แพทย์ประเมิน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณฟิลเลอร์ที่เหมาะสม
  • เลือกคลินิกที่มีการติดตามผลลัพธ์หลังฉีดฟิลเลอร์แท้ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจ และหากเกิดปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันที
  • เลือกคลินิกที่มีรีวิวที่น่าเชื่อถือ มีทั้งภาพ วิดีโอ และคอมเมนต์ในเชิงบวก สามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน และเป็นที่น่าพอใจ

 

ฟิลเลอร์ปลอม ถือเป็นฟิลเลอร์ที่มีความอันตรายสูง และสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ ดังนั้น  หากไม่อยากเสี่ยงเจอฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพ แนะนำให้พิจารณา และตรวจสอบฟิลเลอร์อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจฉีด โดยศึกษาหาข้อมูล และเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจาก อย. เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากฟิลเลอร์ปลอม และเพื่อสร้างมั่นใจในผลลัพธ์ที่มีความปลอดภัยจากฟิลเลอร์แท้