อย่า!!มองข้ามอาการ ปัสสาวะเล็ด..ภัยเงียบ ที่ไม่ใช่เรื่องเล็กของผู้หญิง
อาการปัสสาวะเล็ดสมารถเกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย ทำให้บางคนขาดความมั่นใจไปเลย.. มันสร้างปัญหาให้เราอย่างคาดไม่ถึงเลยนะ ..ขอบอก.. เพราะบางที แค่ไอ และ จามแรงๆ ก็ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาแล้ว ทำให้มีความกังวล ขาดความมั่นใจ และทำให้กลายเป็นปัญหาในชีวิตไปเลยก็ว่าได้ ..
อาการของการเกิดปัสสาวะเล็ด มีหลายสาเหตุ หลายปัจจัยที่ทำให้เกิด สำหรับคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาปัสสาวะเล็ด คงมีความกังวล และ เครียดอยู่ไม่น้อย เรามาทำความรู้จัก อาการของโรคปัสสาวะเล็ดกันจะได้เข้าใจและรับมือได้ทันเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง
อาการปัสสาวะเล็ด
ภาวะปัสสาวะเล็ด คือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะในขณะที่ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง เช่น ไอ จาม การยกของหนัก หัวเราะดังๆ หรือการออกกำลังกาย ก็อาจมีปัสสาวะเล็ดออกมาได้ ทั้งนี้พบว่าประชากรเพศหญิงประมาณ 10-20 % จะประสบปัญหาปัสสาวะเล็ด และก็มีข้อมูลว่าพบภาวะปัสสาวะเล็ดในผู้ชายได้ด้วยเช่นกัน แต่อยู่ในอัตราที่น้อยกว่าผู้หญิง
อาการปัสสาวะเล็ดกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย.. สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดได้ทั้งความผิดปกติของระบบควบคุมประสาทในร่างกายหรือแม้แต่พฤติกรรมของเราเองในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งล้วนทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดขึ้นได้ทั้งนั้น สาเหตุการเกิดจึงจำแนกออกเป็นแต่ละประเภทดังนี้
จากการตั้งครรภ์ และ การคลอดบุตร
โดยเฉพาะจำนวนครั้งของการคลอดบุตร จะมีความเสี่ยงมากขึ้นไม่จำเป็นว่าจะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด ล้วนมีความเสียงด้วยกันทั้งนั้น เพราะการตั้งครรภ์จะส่งผงให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานต้องรับน้ำหนักของเด็กตั้งแต่แรกอยู่แล้ว อาจส่งผลให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดออกมาได้
จากอายุที่เพิ่มขึ้น
พบในสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดขึ้นได้ทั้งกรณีไอ และ จาม จะไม่สามารถกลั้น และควบคุมการไหลของปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดไหลออกมา
จากความอ้วน หรือ โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือมีไขมันส่วนเกินมากมักรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย เพราะไขมันส่วนเกิน จะเข้าไปกดทับบริเวณท้องน้อยเพิ่มแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการบีบตัวส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลเล็ดออกมาได้
ผู้หญิงที่ตัดมดลูก และหมดประจำเดือน
เนื่องจากผลของการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มีผลทำให้เนื้อเยื่อที่พยุงระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะในอุ้งเชิงกรานฝ่อลง ส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง และก่อให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้
การติดเชื้อในกระเพราะปัสสาวะ
การติดเชื้อของกระเพาะหรือท่อปัสสาวะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดได้เช่นกัน
วิธีการรักษา อาการปัสสาวะเล็ด
การขมิบเพื่อกระชับช่องคลอด
เพื่อการบริหารช่วงล่าง หากมีอาการปัสสาวะเล็ดในระยะเริ่มแรก ควรทำการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยการขมิบช่องคลอด ก่อนการขมิบต้องปัสสาวะให้เรียบร้อย จากนั้นนอนหงาย แล้วขมิบไว้ 5 วินาที จากนั้นปล่อย และทำซ้ำติดต่อกัน 4-5 ครั้ง การดูแลเบื้องต้นนี้จะทำให้อาการปัสสาวะเล็ดดีขึ้น แต่ต้องใช้ระยะเวลา และการทำให้สม่ำเสมอ
นวัตกรรมพลังงานคลื่นวิทยุ
ใช้เทคโนโลยีในการรักษาอาการปัสสาวะเล็ด ด้วยนวัตกรรมพลังงานคลื่นวิทยุ เทคโนโลยีนี้ จะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน และ อิลาสตินขึ้นมาใหม่ เพื่อรักษาสุขภาพช่องคลอดโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และ ผนังช่องคลอดแข็งแรง กระชับตึงขึ้น ทั้งบริเวณภายนอกและภายในช่องคลอด และยังช่วยแก้ไขอาการปัสสาวะเล็ดได้อีกด้วย
สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดนั้นเกิดจากกลไกหูรูด ส่วนมากเกิดจากหูรูดที่หย่อนกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ในขณะที่มีการเก็บกักปัสสาวะ มีปัสสาวะเล็ดไหลออกมา หรืออาจจะไหลออกมา เมื่อมีการเพิ่มแรงดันจากในช่องท้อง เช่นเมื่อไอ จาม หัวเราะ มีปัสสาวะเล็ดออกมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิง นอกจากนั้นการที่หูรูดทำงานมากกว่าปกติ ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออกถ่ายปัสสาวะไม่หมดเมื่อมีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะมากก็มีปัสสาวะเล็ดไหลออกมา การดูแลรักษาสุขภาพช่องคลอด ตั้งแต่มีอาการเริ่มแรกนั้นสำคัญมาก อย่าให้อาการปัสสาวะเล็ดมาสร้างปัญหาให้กับชีวิต ใส่ใจดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อให้มีสุขภาพช่องคลอดที่ดี และทวงคืนความสุขของคุณผู้หญิงให้กลับมาอีกครั้ง