Site icon Romrawin

ร้อยไหม (Thread lift) คืออะไร มีกี่ประเภท อันตรายไหม

ร้อยไหม

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ




    วันที่สะดวกในการติดต่อ








    ร้อยไหมยกกระชับ ปรับหน้าเรียว โดยไม่ต้องผ่าตัด

    การร้อยไหม เป็นหัตถการที่เราได้ยินกันมานับสิบปี และเป็นหัตถการที่มีวิวัฒนาการมาแบบยาวนาน ที่หลาย ๆ คนได้ยินกันมาว่ามีตั้งแต่ ร้อยไหมแบบปลอดภัย และไม่ปลอดภัย รวมทั้งยังเป็นหัตถการที่มีความเชื่อต่าง ๆ ในการรักษามาอย่างมากมาย ทั้งเรื่องร้อยไหมแล้วไม่สามารถเข้าเรื่อง X-ray ได้ ร้อยไหมแล้วไม่ละลาย รวมไปจนถึงร้อยไหมเหมาะกับคนอายุมาก มากกว่าคนอายุน้อย ในบทความนี้จะมาไขข้อข้องใจทุกอย่างเกี่ยวกับการร้อยไหมกันอย่างหมดเปลือก

    การร้อยไหมมีทั้งไหมแบบละลายและไม่ละลาย

    ไหมที่ใช้ในการร้อยไหมสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ไหมแบบที่ร้อยไม่ถาวร และถาวร

    โดยไหมแบบไม่ถาวร คือ ไหมละลาย ผลิตด้วยวัสดุที่หลากหลาย ที่ให้ผลลัพธ์ที่มีความแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ ดังนี้

    เป็นชื่อที่ ย่อมาจาก Polydioxanone เป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิตไหมที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากไหม PDO จะเป็นไหมที่มีความยืดหยุ่น และมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก ทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงหากได้รับการร้อยเข้าไปสู่ใต้ชั้นผิว เนื่องจากไม่มีสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทั้งยังเป็นไหมที่ศัลยแพทย์ผ่าตัดเลือกใช้ในการผ่าตัดเย็บเส้นเลือดที่บริเวณหัวใจ 

    ไหมที่ผลิตจากวัสดุ PDO จะสามารถคงสภาพอยู่ใต้ชั้นผิวได้ 4 ถึง 6 เดือน

    เป็นชื่อที่ ย่อมาจาก Polylactic acid เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ได้รับความนิยม ในการนำมาผลิตเป็นไหมที่ใช้ในการร้อยไหม เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความหนา แข็งแรง มีความคงทน สามารถคงสภาพอยู่ใต้ผิวได้นาน แต่ยังเป็นวัสดุที่มีปัญหาเล็กน้อย ในด้านของการยืดหยุ่นที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าไหมวัสดุ PDO 

    ไหมที่ผลิตจากวัสดุ PLLA จะสามารถคงสภาพอยู่ใต้ชั้นผิวได้  1 ปี

    เป็นชื่อที่ ย่อมาจาก Polycaprolactone เป็นวัสดุที่ใช้ในการร้อยไหมที่มีความยืดหยุ่นสูง ลดการขาดของไหมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไหมสามารถยืดหยุ่นตัวได้ตามการขยับของใบหน้า รวมทั้งการแสดงสีหน้าต่าง ๆ และยังสามารถคงสภาพใต้ผิวได้นาน

    หากร้อยไหมที่อยู่ในกลุ่มไหมละลาย ไหมในกลุ่มนี้จะสามารถสลายตัวได้เอง โดยไม่ตกค้างอยู่ใต้ชั้นผิว และเมื่อสลายหมดแล้วสามารถมาทำการร้อยไหมใหม่ได้ตามความต้องการหรือตามคำแนะนำของแพทย์ 

    ไหมที่ผลิตจากวัสดุ PCL จะสามารถคงสภาพอยู่ใต้ชั้นผิวได้ 1-2  ปี 

    ไหมไม่ละลาย 

    เป็นไหมประเภทที่ไม่ได้รับการรับรอง ในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ของประเทศไทย เป็นไหมที่ได้รับความนิยมเมื่อหลายสิบปีก่อนเนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีไหมละลาย ผลิตจากวัสดุที่เป็นไหมทองคำ 99.9% มักจะนำมาใช้เพื่อยกกระชับและดึงใบหน้า แต่เมื่อใช้แล้วส่งผลกระทบมากกว่าข้อดี เนื่องจากเป็นโลหะจึงนับว่าเป็นแปลกปลอมที่ส่งผลอันตรายกับใบหน้า โดยการดูดซับความร้อน จึงส่งผลให้ในบางคนเมื่อร้อยไหมชนิดนี้ไปแล้วเกิดใบหน้าผิดรูป เกิดผังผืดที่ไม่ดีใต้ชั้นผิว รวมทั้งทำให้มีปัญหาเวลา X-ray หรือเข้าเครื่องสแกนโลหะ จึงทำให้ความนิยมเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ และเลิกผลิตไปในที่สุด

    ดังนั้นเมื่อพูดถึงไหมในบทความหลังจากนี้ จะกล่าวถึงไหมละลายทั้งหมด เพราะทุกการทำหัตถการ ความปลอดภัยในการรักษา จะเป็นที่ตั้งเสมอสำหรับรมย์รวินท์คลินิก

    สำหรับการเลือกใช้ไหมในการร้อยไหมในแต่ละเคสนั้น แพทย์จะเลือกใช้ไหม ที่มีความเหมาะสมกับปัญหาของคนไข้แต่ละท่าน รวมทั้งบริเวณที่ต้องการทำการร้อยไหมด้วย 

    การทำงานของไหมเมื่อทำการร้อยไหมที่ใบหน้า

    เริ่มต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เข็มในการนำพาเส้นไหมเข้าบริเวณใต้ผิว เพื่อให้ผลในด้านการยกกระชับ และตึงผิว ตามเทคนิคและบริเวณที่ต้องการทำการรักษา โดยแพทย์แต่ละท่าน และไหมแต่ละชนิด จะมีวิธีการร้อย รวมถึงเทคนิคในการร้อยไหมที่แตกต่างกันไปตามชนิด รวมทั้งลักษณะของไหม หากเคยทำการร้อยไหมมาแล้ว ในครั้งต่อไปแพทย์ได้ทำการร้อยไหมด้วยการใช้เทคนิคที่แตกต่างไปจากเดิมจึงไม่ต้องกังวล อาจมีการเปลี่ยนชนิด หรือวัสดุของไหมจึงทำให้รูปแบบการรักษาของแพทย์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้

    การร้อยไหมทุกชนิดวัสดุจะมีหลักการในการรักษาที่เหมือนกัน จากการทำงานของไหมและเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ชั้นผิว โดยเมื่อร้อยไหมเข้าไปผู้ใต้ชั้นผิวแล้ว ไหมจะทำงานด้วยการเข้าไปกระตุ้นใต้ชั้นผิวให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังบริเวณที่ทำการร้อยไหมได้เพิ่มมากขึ้น จากนั้นจะทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาส เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใต้ชั้นผิว ให้เกิดการสร้างตัวขึ้นมาใหม่โดยการพันรอบแนวเส้นไหม ส่งผลในการรักษา คือการยกกระชับ และดึงใบหน้าให้มีความเต่งตึง ให้ผิวที่แน่นมากขึ้น และยังทำให้ผิวบริเวณที่ทำการร้อยไหมมีความอิ่มฟูและดูดีดูใสมากยิ่งขึ้น

    ข้อดีของการร้อยไหมละลาย

    ร้อยไหมละลายสามารถแก้ปัญหาใดได้บ้าง

    ลักษณะ รูปร่างของเส้นไหมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

    รูปร่างและลักษณะของเส้นไหมที่ใช้กันในปัจจุบันมีลักษณะที่หลากหลายมาก เกิดขึ้นจากการพัฒนา และปรับเพื่อให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด โดยลักษณะไหมแต่ละชนิดสามารถแจกแจงได้ ดังนี้

    1.Mono thread เส้นไหมที่มีลักษณะเรียบ

    2. Screw thread เส้นไหมที่มีลักษณะเกลียว

    3.Barb thread (bidirectional barbed thread) เส้นที่มีไหมลักษณะเงี่ยง 

    Barb thread เส้นที่มีไหมลักษณะเงี่ยง สามารถจำแนกประเภทของเงี่ยงได้ ดังนี้

    Barb thread ที่มีลักษณะไหมเงี่ยงแบบบาก

    ไหมเงี่ยงแบบบาก ในขั้นตอนการผลิตเส้นไหมจะมีการใช้กรรมวิธีบากไหมทั้งการใช้เลเซอร์ตัดห รือบากรวม ทั้งยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่จะทำให้ไหมมีลักษณะเป็นซี่เหมือนกับเสี้ยนที่อยู่บนเปลือกไม้นั่นเอง

    ลักษณะของเงี่ยงไหมสามารถจำแนกได้ดังนี้

    Barb thread ที่มีลักษณะไหมเงี่ยงแบบหล่อ

    ไหมเงี่ยงชนิดนี้เป็นเงี่ยงที่ใช้กระบวนการหล่อขึ้นมาในขั้นตอนการผลิตเส้นไหมเลย โดยผลิตการออกแบบแม่พิมพ์ให้มีลักษณะเป็นเงี่ยง เหมือนกับก้านของดอกกุหลาบที่มีหนามออกมาจากก้านโดยไม่ต้องบากเส้นไหมนั่นเอง ซึ่งการผลิตไหมในลักษณะหล่อให้มีเงี่ยงแบบนี้ จะทำให้ได้ไหมที่มีความแข็งแรงสูง ส่งผลในการรักษา คือ สามารถเกาะกับผิวได้แน่นมากขึ้น

    เงี่ยงของไหมหล่อ จะสามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้อีก 3 ชนิด ดังนี้

    ความต่างของไหมเงี่ยงแบบบาก และไหมเงี่ยงแบบหล่อ 

    ไหมทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในด้านความคงทนของไหม และความคงทนของเงี่ยงไหม

    4.เส้นที่มีไหมลักษณะเงี่ยงแบบกรวย

    ไหมเงี่ยงชนิดนี้ มีลักษณะของเงี่ยงเป็นทรงกรวยล้อมอยู่รอบเส้นไหม โดยทรงกรวยดังกล่าวจะทำหน้าที่เกาะกับผิวหนัง ในบริเวณที่ทำการร้อยไหมได้เป็นอย่างดี ไม่อันตรายต่อผิว ไม่คม ไม่ขูด ไม่บาดผิว และป้องกันความเสียหายต่อผิวหนังได้มากกว่าไหมเงี่ยงชนิดอื่น ๆ 

    ข้อจำกัดของการร้อยไหมชนิดนี้ คือ ต้องทำการร้อยโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญสูงมาก ๆ เนื่องจากเป็นไหมที่จะต้องอาศัยฝีมือในการร้อยไหม

    5.เส้นที่มีไหมลักษณะเป็นโครงตาข่าย

    การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการร้อยไหม

    ขั้นตอนการทำการร้อยไหม

    การดูแลตัวเองหลังเข้ารับบริการร้อยไหม

    ข้อควรระวังของการร้อยไหม หากไม่ได้ทำการร้อยไหมโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์

    ข้อเสียของการร้อยไหม

    โรคอะไรบ้างที่ไม่ควรระวังในการทำการร้อยไหม

    ผู้ที่เป็นโรคประจำตัวดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษา เพื่อปรึกษาหาข้อตกลงร่วมในการรักษา เพื่อความปลอดภัย และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    ข้อดี ข้อเสีย ของเข็มที่ใช้ในการร้อยไหมประเภทต่างๆ

    1. เข็มร้อยไหมประเภทแหลม 

    เข็มร้อยไหมประเภทแหลมมีข้อดี คือ ลดการเกิดความบวมทั้งเลือดและน้ำ เนื่องจากลักษณะของเข็มจะทำการตัดเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ชั้นผิว จึงทำให้เกิดความเจ็บในขณะที่ทำน้อยกว่า ทำให้เกิดการบวมน้อยกว่า และสมานแผลใต้ชั้นผิวได้เร็วกว่า หากทำโดยแพทย์ที่ชำนาญ

    2. เข็มร้อยไหมประเภททู่ 

    เข็มร้อยไหมประเภททู่ อาจทำให้เกิดการบวมน้ำและเลือดได้ เนื่องจากลักษณะของเข็มจะทำงานโดยการทำให้ผิวเกิดการฉีกออก ทำให้ระหว่างทำมีความเจ็บมากกว่า แต่จะสามารถหลบเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กและใหญ่ได้ดีกว่าเข็มปลายแหลม

    3. เข็มร้อยไหมประเภทตัด

    เข็มร้อยไหมประเภทนี้เป็นเข็ม กึ่งแหลมกึ่งทู่ โดยปลายเข็มจะมีลักษณะคล้ายกับหลอด มีความคมอยู่บ้างแต่ไม่มาก และจะไม่คมเท่ากับเข็มปลายแหลม 

    4. เข็มร้อยไหมประเภทเข็ม L

    ลักษณะเข็มร้อยไหมประเภทนี้ เป็นเข็มที่มีความคล้ายกันกับเข็มประเภทตัด การใช้เข็มประเภทนี้จะบวมน้ำน้อยกว่าบวมเลือด และสมานเส้นเลือดได้ดีกว่าการใช้เข็มปลายทู่ 

    พัฒนาต่อจากเข็มตัดอีกขั้นหนึ่ง เข็มแต่ละประเภทไม่สามารถระบุได้ว่าชนิดไหนดีที่สุด ขึ้นกับการประเมินเนื้อเยื่อของคนไข้ และความถนัดของหมอแต่ละคน เช่น ถ้าคนไข้เคยเป็นสิว และมีพังผืดเยอะ การใช้เข็มทู่ก็จะบวมช้ำมากกว่าเข็มแหลม

    การพัฒนาของการร้อยไหมในปัจจุบันร้อยไหมทำอะไรได้บ้าง

    ในปัจจุบันมีการร้อยไหมช่องคลอด ขึ้นมาอีกหนึ่งชนิดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการยกกระชับเช่นเดียวกัน แต่เป็นยกกระชับในส่วนช่องคลอดและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของช่องคลอด อาทิ

    ไหมน้ำ 

    เป็นนวัตกรรมที่พัฒนามาจากการร้อยไหมปกติ โดยการใช้หลักการกระตุ้นคอลลาเจน ทำให้ผิวเกิดความกระชับมากขึ้น อิ่มฟู และชุ่มชื้นได้มากขึ้น โดยไหมน้ำนั้นเป็นสิ่งที่ผลิตมาจากวัสดุเดียวกับวัสดุที่นำมาทำไหมที่ใช้ร้อยใบหน้า โดยสามารถแจกแจงยี่ห้อของไหม และวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตได้ ดังนี้

    สาร PCL (Polycarpolactone)

    ที่ช่วยในการสร้างความยืดหยุ่น และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวได้เป็นอย่างดี สามารถคงผลลัพธ์ใต้ผิวได้นาน

    สาร PDO (Polydioxanone)

    สารที่ใช้ผลิตไหมที่มีความยืดหยุ่นสูง และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวได้ดี ทั้งยังก่อให้เกิดการแพ้สารดังกล่าวได้ยาก 

    สาร PLLA (Poly-L-Lactic acid)

    สามารถอุ้มน้ำได้ดี ช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน มีความปลอดภัย เนื่องจากสังเคราะห์มาจากพืช ทำให้มีผลข้างเคียงในการรักษาน้อย

    สาร PDLLA (Poly D-L-Lactic Acid)

    เป็นไหมน้ำที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ พัฒนาต่อจาก PLLA เพื่อใช้สำหรับการเป็นไหมน้ำ มีโมเลกุลเป็นทรงกลม ทำให้เวลาที่ฉีดไปไม่ทำอันตรายต่อใต้ผิวหนัง ช่วยในการยกกระชับผิวได้ดี ช่วยในการกระตุ้นคอลลาเจนใต้ชั้นผิวได้เป็นอย่างดี  ส่งผลให้ผิวหนังระหว่างทำเกิดการอักเสบในบริเวณใต้ชั้นผิวได้ยาก

    การร้อยไหมในปัจจุบัน นอกจากจะมีการพัฒนาเป็นไหมในลักษณะอื่น ๆ หรือมีการร้อยในบริเวณอื่นที่นอกจากใบหน้าแล้ว ยังมีการพัฒนาเงี่ยง รูปทรงแล้วความยาวของไหมให้แตกต่างออกไปในรูปแบบอื่น เพื่อรองรับปัญหาของผู้เข้ารับบริการที่มากขึ้น และตรงจุดขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้การร้อยไหมจำเป็นจะต้องได้รับการทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นภายหลัง และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

    ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ




      วันที่สะดวกในการติดต่อ








      Exit mobile version