Site icon Romrawin

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? อันตรายจริงไหม? ทำไมไม่ควรฉีด? อัปเดต 2025

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? อันตรายจริงไหม? ทำไมไม่ควรฉีด? อัปเดต 2025

 

ปัจจุบัน ฟิลเลอร์ปลอมยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในวงการแพทย์ความงาม โดยจะเห็นได้จากข่าวที่มีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหลายคนที่ยังหลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าฟิลเลอร์แท้ แต่รู้หรือไม่ว่า การฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อใบหน้าสารพัด ทั้งใบหน้าผิดรูป ติดเชื้อ เนื้อตาย หรือตาบอดได้เลยทีเดียว ซึ่งยากต่อการรักษา ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังสนใจฉีดฟิลเลอร์อยู่ บทความนี้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอมมาให้แล้วว่า ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตได้อย่างไร? และมีวิธีไหนที่สามารถเช็กฟิลเลอร์แท้ได้บ้าง? เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากฟิลเลอร์ปลอม

 

ฟิลเลอร์ปลอมอันตราย รู้ทันก่อนฉีด รวมวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้

 

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร?

 

ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร

 

ฟิลเลอร์ปลอม เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้ผลิตจากสารที่มีคุณภาพ และไม่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งส่วนใหญ่ฟิลเลอร์ปลอมจะใช้สารเติมเต็มประเภท ซิลิโคนเหลว (Liquid Silicone) และพาราฟิน (Paraffin) ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านง่าย ซึ่งแตกต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่สามารถสลายเองได้ตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย

โดยเมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปแล้ว สารในฟิลเลอร์ปลอม จะตกค้างอยู่ในชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ทั้งอาการบวมแดง อักเสบ หรือแม้กระทั่งผิวหนังติดเชื้อ อีกทั้ง ฟิลเลอร์ปลอม ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ เช่น ฟิลเลอร์เป็นก้อน เกิดพังผืดในชั้นผิว ทำให้ใบหน้าผิดรูป หรือตาบอด ซึ่งจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะเเทรกซ้อน และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

 

ทำความรู้จัก ฟิลเลอร์แท้ คืออะไร?

ฟิลเลอร์แท้ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท ไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid – HA) ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยฟิลเลอร์แท้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบ สารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ มีหน้าที่หลักในการกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว และฉีดเสริมชั้นผิวในบริเวณที่สูญเสียคอลลาเจน ไขมัน และกระดูกที่ทรุดตัวลง ทำให้ผิวหน้ากลับมาอิ่มฟู เรียบเนียน และดูอ่อนเยาว์อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย ซึ่งฟิลเลอร์แท้สามารถสลายตัวได้เองตามกระบวนการธรรมชาติ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด

 

ฟิลเลอร์ มีกี่ประเภท? 

ฟิลเลอร์ชั่วคราว (Temporary Filler)

ฟิลเลอร์กึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler)

ฟิลเลอร์ถาวร (Permanent Filler)

 

5 เหตุผลที่ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์ปลอม ใช้สารที่ไม่ปลอดภัย

ฟิลเลอร์ปลอม นำเข้าผิดกฎหมาย

ฟิลเลอร์ปลอม ใช้กระบวนการผลิตไม่มีคุณภาพ

ฟิลเลอร์ปลอม เสี่ยงเกิดอันตราย

ฟิลเลอร์ปลอม ทำการรักษายาก

 

ฉีดฟิลเลอร์ปลอม อันตรายอย่างไร?

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมระยะสั้น

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ติดเชื้อ

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ แพ้ฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ บวมแดงผิดปกติ

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ผิวเปลี่ยนสี

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ อุดตันเส้นเลือด

 

อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมระยะยาว

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ เกิดพังผืด

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ฟิลเลอร์เป็นก้อน

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ฟิลเลอร์ไหลย้อย

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ เนื้อตาย 

ฟิลเลอร์ปลอมส่งผลให้ ตาบอด 

 

วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม

 

สังเกตฟิลเลอร์ปลอมจากจุดไหนได้บ้าง?

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก ราคาถูกผิดปกติ

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก กล่องฟิลเลอร์ไม่สมบูรณ์

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก เลข Lot. ไม่ตรงกัน

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก คลินิกที่ให้บริการไม่น่าเชื่อถือ

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก แพทย์ไม่แกะกล่องต่อหน้า

ฟิลเลอร์ปลอมสังเกตจาก ผลลัพธ์ไม่เป็นธรรมชาติ

 

ฟิลเลอร์ปลอมกับฟิลเลอร์แท้ต่างกันอย่างไร

 

ฟิลเลอร์แท้ VS ฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์แท้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัและผลลัพธ์ที่ได้หลังฉีด แต่การฉีดฟิลเลอร์ปลอมนั้น อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในระยะยาวได้ โดยฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์แท้มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ฟิลเลอร์แท้

ฟิลเลอร์ปลอม

 

ฟิลเลอร์หิ้ว VS ฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์หิ้ว ถึงแม้จะเสี่ยงอันตรายเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งฟิลเลอร์ปลอม และฟิลเลอร์หิ้วมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์หิ้ว

 

วิธีแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม มีอะไรบ้าง?

การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากฟิลเลอร์ปลอมนั้น มีความซับซ้อน และแตกต่างจากการแก้ไขฟิลเลอร์แท้ เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม ผลิตจากซิลิโคนเหลว และพาราฟิน ทำให้ไม่สามารถใช้ Hyaluronidase ฉีดสลายได้เหมือนฟิลเลอร์แท้ ดังนั้น การแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม จึงใช้วิธีการที่ยุ่งยากกว่า และใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน รวมถึง มีค่าใช้จ่ายที่สูง โดยวิธีแก้ไขฟิลเลอร์ปลอม มีดังนี้

แก้ไขฟิลเลอร์ปลอม ด้วยการขูดฟิลเลอร์

แก้ไขฟิลเลอร์ปลอม ด้วยการผ่าตัด

 

วิธีเช็กฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ มีอะไรบ้าง?

การตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ก่อนตัดสินใจฉีดมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อความปลอดภัย ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเจอฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อก็มีวิธีการตรวจสอบที่ต่างกัน โดยสามารถตรวจสอบฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อได้ ดังนี้

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Belotero

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Belotero

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Juvederm

 

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Juvederm

 

เช็กฟิลเลอร์แท้ Restylane

 

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อ Restylane

 

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ 

 

ฟิลเลอร์ปลอม ถือเป็นฟิลเลอร์ที่มีความอันตรายสูง และสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ ดังนั้น  หากไม่อยากเสี่ยงเจอฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพ แนะนำให้พิจารณา และตรวจสอบฟิลเลอร์อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจฉีด โดยศึกษาหาข้อมูล และเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจาก อย. เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากฟิลเลอร์ปลอม และเพื่อสร้างมั่นใจในผลลัพธ์ที่มีความปลอดภัยจากฟิลเลอร์แท้

Exit mobile version