Site icon Romrawin

สาเหตุของการนอนกรนที่หลายคนมองข้าม รักษานอนกรนวิธีไหนได้ผล

สาเหตุของการนอนกรน

สาเหตุของการนอนกรน

สาเหตุของการนอนกรนที่หลายคนมองข้าม รักษานอนกรนวิธีไหนได้ผล

การนอนกรน อาจดูเหมือนเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อย แต่ความจริงแล้วอาการนอนกรนอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้มากกว่าที่คิด หากเข้าใจสาเหตุของการนอนกรนก็จะช่วยให้หาวิธีรักษาและป้องกันได้อย่างถูกต้อง เราจะพาคุณไปดูกันว่าอะไรเป็น สาเหตุของการนอนกรนที่หลายคนมองข้าม รักษานอนกรนวิธีไหนได้ผล เพื่อเพิ่มคุณภาพของการนอน และช่วยให้สุขภาพดีมากขึ้น

 

สาเหตุของการนอนกรนที่พบบ่อย

 

สาเหตุของการนอนกรนที่พบบ่อย

อาการนอนกรน ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่ใครหลาย ๆ คนต่างอาจมองข้าม ซึ่งสาเหตุของการนอนกรนนั้น เกิดจากการที่ทางเดินหายใจแคบลง หรือมีการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในลำคอขณะหลับ ซึ่งอาการนี้เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือโรคบางชนิด ดังนี้

  1. ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA) เป็นภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นชั่วคราวระหว่างการนอนหลับ จึงทำให้เกิดอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ และทำให้ร่างกายต้องพยายามหายใจแรงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดเสียงกรนขณะหลับ โดยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับนั้น มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เพดานอ่อนเกิดการหย่อนคล้อยลงขณะหลับ หรือมีโครงสร้างทางเดินหายใจที่ตีบแคบตั้งแต่กำเนิด ทำให้หายใจได้ลำบาก

โดยอาการที่พบได้บ่อย คือ อาการนอนกรนเสียงดัง ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะรู้สึกสำลักหรือขาดอากาศ และมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ปวดหัวหลังตื่นนอน สมาธิสั้น และมีอารมณ์ที่แปรปรวน ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอันตรายหลาย ๆ โรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ในอนาคต

  1. โครงสร้างทางเดินหายใจและพันธุกรรม

การมีโครงสร้างทางเดินหายใจตีบ หรือมีความผิดปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการนอนกรนได้ เนื่องจากโครงสร้างของจมูก ลำคอ และเพดานอ่อน มีผลต่อการไหลเวียนของอากาศขณะหายใจ โดยคนที่มีลิ้นไก่ยาว เพดานอ่อนหนา คางเล็ก หรือทางเดินหายใจแคบโดยกำเนิด อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดการนอนกรนมากกว่าคนปกติ เพราะพันธุกรรมนั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก หากมีสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหานอนกรนหรือภาวะ OSA ก็อาจมีโอกาสสูงที่ลูกหลานจะมีอาการนี้ได้

  1. น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน

สาเหตุของการนอนกรน สามารถเกิดได้จากน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ หรือผู้ที่มีโรคอ้วน เนื่องจากไขมันที่สะสมบริเวณรอบลำคอและบริเวณทางเดินหายใจ อาจทำให้ช่องลมหายใจตีบลงจากแรงกดทับได้ และอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งการลดน้ำหนักสามารถช่วยลดอาการนอนกรน และลดการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. อายุ และความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อในบริเวณลำคอและเพดานอ่อนจะสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เนื้อเยื่อในลำคอเกิดความหย่อนคล้อย และเมื่อกล้ามเกิดความเนื้อหย่อนคล้อยมากขึ้น เนื้อเยื่อจะสามารถสั่นสะเทือนได้ง่ายขึ้นระหว่างการหายใจ ส่งผลให้เกิดเสียงกรนขณะหลับ ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนได้ด้วยการออกกำลังกายบริเวณลำคอ และการปรับพฤติกรรมการนอน

  1. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ที่กดประสาท และทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวมากเกินไป รวมถึงกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจ หากกล้ามเนื้อคลายตัวเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ทางเดินหายเกิดการอุดกั้นได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนมากขึ้นกว่าปกติ การงดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้

บุหรี่ ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง ทั้งนี้สารพิษในบุหรี่ยังทำให้บริเวณลำคอเกิดการระคายเคืองและมีเสมหะสะสมมากขึ้น ส่งผลให้หายใจได้ลำบากและเกิดเสียงกรนได้ ลดการสูบบุหรี่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มะเร็งปอด ได้อีกด้วย

การเลือกใช้ยาบางชนิด อาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการนอนกรนได้ โดยยาที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือยาแก้แพ้บางชนิด อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจเกิดการคลายตัวมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนได้ ทั้งนี้หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆ  เพื่อช่วยลดอาการนอนกรน

ท่านอน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการนอนกรน โดยการนอนหงาย จะทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าการนอนตะแคง ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงกรนได้ขณะหลับ การนอนตะแคงจะช่วยทำให้อากาศไหลเวียนได้ดีมากขึ้น และช่วยลดเสียงกรนขณะหลับได้ อีกหนึ่งตัวช่วยลดการนอนกรน คือ การใช้หมอนกันกรน หรือการหนุนศีรษะให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยลดแรงกดทับที่บริเวณทางเดินหายใจได้

 

สาเหตุของการนอนกรน : โปรแกรม Snore Laser รักษาอาการนอนกรน คืออะไร?

โปรแกรม Snore Laser เป็นวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยใช้เลเซอร์ชนิดเออร์เบียม (Er: YAG Laser) ยิงเข้าไปบริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้นไก่ และโคนลิ้น โดยพลังงานความร้อนจากเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้เนื้อเยื่อที่หย่อนคล้อยเกิดการหดตัวและกระชับขึ้น ซึ่งส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ช่วยลดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของเสียงกรน และช่วยทำให้อากาศสามารถไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้หายใจได้สะดวกในขณะนอนหลับ

ซึ่งหลักการทำงานของโปรแกรม Snore Laser คือ การช่วยให้เนื้อเยื่อในช่องคอและเพดานอ่อนไม่หย่อนตัวลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินบริเวณเนื้อเยื่อทำให้เนื้อเยื่อมีความกระชับมากขึ้น ส่งผลใช้ช่วยลดอาการนอนกรน และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea – OSA) ทั้งนี้ โปรแกรม Snore Laser เป็นการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด ใช้ยาชาเฉพาะจุด เจ็บน้อย ทั้งยังใช้เวลาในการรักษาไม่นาน หลังทำสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยไม่ต้องพักฟื้น

 

สาเหตุของการนอนกรน : ทำไมต้องรักษานอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser

 

สาเหตุของการนอนกรน :  ทำไมต้องรักษานอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser

ลดอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนจากภาวะหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจในระดับเริ่มต้นถึงปานกลาง ที่จะช่วยลดปัญหาการนอนกรนถี่ นอนกรนเสียงดัง และช่วยเพิ่มคุณภาพของการนอนให้หลับ ช่วยกระชับความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของการรักษาโปรแกรม Snore Laser นั้นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเดินหายใจของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล โดยอาจจะเข้ารับการรักษาประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งผลลัพธ์ของการรักษาอาการลดนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser สามารถอยู่ได้นานถึง 6-12 เดือน และอาจจะต้องทำซ้ำเพื่อคงผลลัพธ์ให้ได้อย่างต่อเนื่อง

 

สาเหตุของการนอนกรน :  ทำไมต้องรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser

 

โปรแกรม Snore Laser เป็นการใช้เลเซอร์ชนิดเออร์เบียม (Er: YAG Laser) พลังงานต่ำส่งคลื่นพลังงานไปยังบริเวณเพดานอ่อน (Soft Palate) ลิ้นไก่ (Uvula) และผนังคอหอย (Pharyngeal Wall) โดยพลังงานความร้อนของเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นเนื้อเยื่อที่มีปัญหา โดยไม่ก่อให้เกิดแผลในช่องปาก

พลังงานจากเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจ เนื้อเยื่อที่หย่อนคล้อยจะเริ่มกระชับขึ้น ทำให้ลดการสั่นสะเทือนที่เป็นสาเหตุของการนอนกรน

โปรแกรม Snore Laser จะช่วยลดความหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อ โดยเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนและลิ้นไก่จะมีความกระชับขึ้น ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทั้งยังช่วยลดโอกาสที่เนื้อเยื่อจะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการนอนกรน

การรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser เป็นทางเลือกที่จะช่วยลดอาการนอนกรนได้แบบไม่ต้องเจาะผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องพักฟื้น และไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) ขณะหลับ

 

สาเหตุของการนอนกรน : ข้อดีของการรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser

 

สาเหตุของการนอนกรน : ใครเหมาะกับการรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser?

 

สาเหตุของการนอนกรน :  ใครเหมาะกับการรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser?

การนอนกรน มักเกิดจากการที่เพดานอ่อนและเนื้อเยื่อบริเวณลำคอหย่อนตัวลง ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเมื่อหายใจ การทำโปรแกรม Snore Laser ช่วยกระชับเนื้อเยื่อเหล่านี้เพื่อลดอาการนอนกรน

หากมีอาการหยุดหายใจขณะหลับเล็กน้อยถึงปานกลาง และไม่ได้ต้องการใช้เครื่องรักษาอาการนอนกรน CPAP ขณะหลับ การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser สามารถช่วยลดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้หายใจสะดวกขึ้น

โปรแกรม Snore Laser เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด เนื่องจากเป็นการใช้เลเซอร์ชนิดเออร์เบียมในการรักษา ทำให้ไม่มีบาดแผล และไม่ต้องพักฟื้นนาน

สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนและไม่ต้องการใช้เครื่อง CPAP หรืออาจรู้สึกไม่สะดวกหรือใช้งานได้ยาก การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถรักษาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกิน เนื่องจากอาการนอนกรนอาจเกิดจากไขมันรอบคอกดทับทางเดินหายใจ

ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดขั้นรุนแรง หรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อที่มีผลต่อการหายใจ สามารถรักษาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser เพื่อช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser สามารถช่วยลดเสียงกรน ความถี่ของการกรนได้ และช่วยทำให้การนอนหลับมีคุณภาพดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง หรือคนรอบข้าง ช่วยทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และคนรอบข้างดีขึ้น

 

สาเหตุของการนอนกรน :  ใครไม่เหมาะกับการรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser?

การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในระดับเบาถึงปานกลาง หากมีอาการหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง โดยมีอาการหยุดหายใจบ่อยครั้งและเป็นเวลานาน อาจจะต้องใช้การรักษาอื่น เพื่อแก้ปัญหาแทน

ผู้ที่มีโครงสร้างทางเดินหายใจที่ผิดปกติในบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ หรือทางเดินหายใจส่วนบน ที่อาจจะทำให้เกิดการตีบแคบของทางเดินหายใจ การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser อาจจะให้ผลลัพธ์ได้ไม่เต็มที่ อาจพิจารณาวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด 

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือมีภาวะเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ยาก การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เนื่องจากอาการนอนกรน อาจเป็นหนึ่งอาการของโรคดังกล่าว

น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ถือเป็นสาเหตุของการนอนกรนที่สำคัญที่อาจก่อให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เนื่องจากไขมันที่สะสมบริเวณรอบคออาจจะกดทับทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นที่ไม่สามารถรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser เพียงอย่างเดียว ในกรณีนี้ควรดูแลสุขภาพโดยการลดน้ำหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อน จากนั้นจึงค่อยรักษาอาการนอนกรน

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจ และแอลกอฮอล์นั้นทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจคลายตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser มีประสิทธิภาพที่ลดลง

แม้ว่าการรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser จะเป็นการรักษาที่ไม่ได้ผ่าตัด หรือไม่มีแผลเปิด แต่ในบางกรณีหากเป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดหรือเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บฟื้นตัวช้า อาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา

สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรนั้น ควรหลีกเลี่ยงการทำโปรแกรม Snore Laser เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจ 

การรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้ แต่ไม่สามารถให้ผลลัพธ์แบบถาวรได้ ซึ่งผู้เข้ารับบริการจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วย เพราะหากไม่ดูแลตัวเองอาการนอนกรนอาจกลับมาได้

 

สาเหตุของการนอนกรน :  ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยโปรแกรม Snore Laser

  1. อาการนอนกรนเริ่มลดลงหลังการรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser 1-2 ครั้ง

หลังจากเข้ารับการรักษานอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ครั้งแรก เสียงกรนจะค่อย ๆ ลดลง หรือมีความถี่ของการกรนน้อยลง โดยผลลัพธ์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัญหาความหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อ 

  1. การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser อาจต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 3-5 ครั้ง

โดยทั่วไปการรักษาอาการนอนกรนโปรแกรม Snore Laser จะแนะนำให้ทำการรักษาอย่างต่อเนื่องประมาณ 3-5 ครั้ง โดยแต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์  เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เนื่องจากโปรแกรม Snore Laser จะค่อย ๆ กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้เกิดการหดตัวของคอลลาเจนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จำนวนครั้งจะขึ้นอยู่กับปัญหาความรุนแรงของการหย่อนคล้อย

หลังจากการรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ครบตามที่แพทย์ได้ทำการแนะนำแล้วนั้น ผลลัพธ์จะสามารถอยู่ได้นานถึงประมาณ 6-12 เดือน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองหลังทำของแต่ละบุคคล โดยสามารถทำซ้ำได้ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อคงผลลัพธ์ของการรักษาให้ยาวนานขึ้น 

  1. ประสิทธิภาพของการรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

การรักษาอาการนอนกรนด้วยโปรแกรม Snore Laser นั้นผลลัพธ์และประสิทธิภาพหลังทำการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัญหาของความหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจของแต่ละบุคคล โดยผู้ที่มีโครงสร้างทางเดินหายใจแคบ หรือมีภาวะหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อมาก อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น เพื่อให้เนื้อเยื่อเกิดการกระชับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และภาวะน้ำหนักเกิน ที่อาจจะมีผลต่อการรักษา

 

สาเหตุของการนอนกรน : นอนกรน คืออะไร ?

 

สาเหตุของการนอนกรน :  นอนกรน คืออะไร ?

นอนกรน เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลให้ลมหายใจไหลผ่านได้อย่างลำบาก จึงทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนระหว่างการนอนหลับ ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น โดยอาการนอนกรนเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย และเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น 

 

สาเหตุของการนอนกรน บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพหรือไม่?

การนอนกรนอาจจะดูเป็นเรื่องปกติสำหรับบางคน แต่การนอนกรนในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพหลาย ๆ อย่าง เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ซึ่งเป็นภาวะที่อาจทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลง ส่งผลให้มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน หงุดหงิดง่าย และเสี่ยงต่อโรคอันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น

 

สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการนอนกรนที่เป็นอันตราย

 

วิธีรักษาและป้องกันการนอนกรน ทำได้กี่วิธี?

 

วิธีรักษาและป้องกันการนอนกรน ทำได้กี่วิธี?

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการนอนกรน และช่วยป้องกันการนอน เช่น
  1. อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน ปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายประเภทที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้ เช่น
  1. การรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ที่นอนกรน สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนในระดับเริ่มต้นถึงรุนแรง หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วม อาจต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ เช่น

 

สาเหตุของการนอนกรน เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม โครงสร้างของร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต ท่านอน รวมถึงโรคประจำตัว โดยการนอนกรนอาจจะก่อให้เกิดโรคภัยเงียบต่าง ๆ ได้ ซึ่งการนอนกรนนั้นนอกจากจะทำให้คุณภาพการนอนของผู้ป่วยแย่แล้ว ยังทำให้คุณภาพการนอนของผู้ที่นอนร่วมแย่เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว อาการนอนกรนสามารถรักษาได้ ด้วยโปรแกรม Snore Laser เลเซอร์รักษาอาการนอนกรน ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องผ่าตัด

Exit mobile version