ดูแลตัวเองอย่างไร…หลังทำรีแพร์

34

การทำรีแพร์เพื่อกระชับช่องคลอด จะแตกต่างจากการผ่าตัดวิธีอื่นคือ แผลที่ทำรีแพร์จะเป็นแผลที่แช่อยู่ในน้ำตลอดเวลา เนื่องจากโดยปกติแล้วจะมีน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด จึงทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเฉพาะของส่วนนั้นอยู่แล้ว รวมไปถึง อุจจาระ ปัสสาวะอีก หรือในบางคนที่มีตกขาวมาก อาจมีเชื้อราหรือแบคทีเรียบางตัวซ่อนเร้นอยู่ เป็นเหตุให้การผ่าตัดรีแพร์ต้องมีการดูแลค่อนข้างจะพิเศษ ซึ่งแผลรีแพร์จำเป็นต้องโดนน้ำ ยิ่งต้องทำความสะอาด พราะว่าถ้าไม่ทำความสะอาดไม่เช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้แผลมีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นอีก ต่างจากการผ่าตัดวิธีอื่น คือการผ่าตัดอื่น ๆ จะไม่ให้แผลโดนน้ำ และหมอจะแนะนำคนไข้ให้รีบขยับลุกเดินเพื่อไม่ให้เกิดพังผืดขึ้น แต่การรีแพร์ต้องพยายามนอนให้นิ่งที่สุดเพราะการขยับอาจจะก่อให้เกิดการห้อเลือดได้ แต่ถ้า 2-3 วันแรก ขยับตัวให้น้อยที่สุดนอนให้นิ่งที่สุดโอกาสที่แผลจะหายเร็วจะมีมากกว่า

shutterstock 1017151465

การดูแลหลังผ่าตัดรีแพร์

  1. หลังการผ่าตัดรีแพร์ ต้องนอนพักรักษาตัวภายใต้การดูแลของแพทย์ หลังจากนั้น พยายามนอนนิ่งๆ 3-5 วัน เพื่อลดการปวด ลดการเสียดสีเพราะเสี่ยงต่อเลือดออก2
  2. ระหว่างนี้ ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ๆ จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวจึงจะสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้
  3. ควรใช้วิธีประคบเย็นเพื่อหยุดเลือด ไม่ต้องแช่น้ำอุ่นเพราะอาจจะทำให้เลือดไหลได้
  4. หากการผ่าตัดรีแพร์มีผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะมาจากกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลา 1-2 วัน
  5. ต้องรับประทานยาที่แพทย์กำหนดตามปริมาณและวิธีการที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาควบคุมอาการ ดังนี้
    • ยาปฏิชีวนะ ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง และไม่หยุดใช้ยาอย่างกะทันหันโดยปราศจากคำสั่งแพทย์
    • ยาแก้ปวด ลดอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกาย ประวัติทางการแพทย์ และประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยด้วย โดยผู้ป่วยต้องศึกษาวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เช่น ปริมาณยาที่ควรรับประทานต่อครั้ง ระยะเวลาที่ควรเว้นช่วงการใช้ยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรรอให้มีอาการปวดอย่างรุนแรงก่อนจึงใช้ยา และหากใช้ยาไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
  6. สามารถปัสสาวะได้ปกติ ในช่วงแรกที่ทำรีแพร์มา อาจจะมีอาการแสบบ้าง ใช้น้ำเปล่าล้างก็หาย
  7. สามารถอาบน้ำได้แต่ห้ามใช้สบู่ฟอกบริเวณแผลที่ทำรีแพร์ ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลา 1 เดือน
  8. งดอาหารแสลง อาทิ ของหมักดอง อาหารทะเล บุหรี่ แอลกอฮอล์
  9. ควรงดมีเพศสัมพันธ์ หลังจากทำรีแพร์ประมาณ 45 วัน
  10. หากต้องการมีบุตร แนะนำเป็นหลัง 6 เดือน หลังจากทำรีแพร์
shutterstock 570204226

หลังทำรีแพร์จะคงความกระชับได้นานแค่ไหน

ลงทุนเจ็บตัวไปทำรีแพร์มาทั้งที คุณผู้หญิงก็คงอยากให้ความกระชับคงอยู่ไปนานๆ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ผนังช่องคลอดกลับมาหย่อนคล้อยได้อีก บางคนแค่ 1 -2 ปีก็หย่อนคล้อยอีก บางคนอาจนาน 4-5 ปี แต่ก็มีบางคนคงอยู่ถึง 7-8 ปีเลยก็มี ซึ่งการที่ผนังช่องคลอดจะกลับมาหย่อนคล้อยซ้ำเร็วหรือช้าขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

  • ถ้าหลังผ่าตัดรีแพร์มีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำ เช่น ท้องผูก, ไอจาม (จากภูมิแพ้), ยกของหนัก (จากอาชีพ) เป็นต้น ก็จะทำให้ผนังช่องคลอดกลับมาหย่อนคล้อยซ้ำเร็วขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวจะไปเพิ่มความดันภายในช่องท้อง และแรงที่มากระทบกับผนังช่องคลอด
  • ถ้ารังไข่ยังคงผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นปกติ ระดับของฮอร์โมนตัวนี้ในร่างกายยังสูง ก็อุ่นใจได้ว่า ผนังช่องคลอดจะมีความหนานุ่ม ชุ่มชื้น และมีความยืดหยุ่นดี แต่ถ้าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง ผนังช่องคลอดจะบาง แห้ง ไม่ยืดหยุ่นและเกิดการหย่อนคล้อยขึ้น ซึ่งตรงเป็นเรื่องที่ระบุไม่ได้ว่า หลังการทำรีแพร์ไปแล้ว รังไข่ของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร หรือกี่ปีระดับฮอร์โมนจึงจะเริ่มลดลง แต่โดยปกติระดับฮอร์โมนเพศจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
  • ถ้าในกระบวนการหายของแผลที่ช่องคลอดจากการทำรีแพร์มีการสร้างคอลลาเจนมาก ผนังช่องคลอดก็จะมีความยืดหยุ่น ความกระชับอยู่ได้นาน แต่ถ้าสร้างคอลลาเจนได้น้อย ความตึง ความกระชับของช่องคลอดก็จะน้อยตามไปด้วย  ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ก็จะทำให้ความหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดเกิดช้าเร็วไม่เท่ากันนั่นเอง